วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

7.การเขียนโปรแกรมควบคุม การทำงานของอุปกรณ์เล็ดทรอนิกส์ ควรเลือกใช้ภาษาใด เพราะอะไร

Visual Basic, C, C++, Java
เพราะ

6. ลักษณะของภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ภาษาธรรมชาติ

ไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นเพื่อทำตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง

5. ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท จงอธิบาย

แบ่งได้ 4 ระดับ ได้แก่

1.เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user) เป็นผู้ที่พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ

2.ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก
3. นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป

4.ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) เป็นใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น

4. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึงอะไร

โปรแกรมที่ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่ไม่เกี่ยวกับตัวเครื่อง เช่น งานพิมพ์รายงานหรือข้อความ จะใช้โปรแกรมประเภทประมวลผลคำ การทำตารางบัญชี จะใช้โปรแกรมประเภทตารางทำการ งานนำเสนอ จะใช้โปรแกรมประเภทสร้างสื่อนำเสนอ เป็นต้น

3.ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร

โปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ โดยเฉพาะส่วนที่ควบคุมและจัดการหน่วยความจำ จัดการนำงานของผู้ใช้มาดำเนินการ และจัดการการรับข้อมูลและแสดงผล ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows , Linux , MS-DOS

2.rom และ ram มีความแตกต่างและประโยชน์อย่างไร

ROM: ROM เป็นคำย่อมาจาก “Read-Only Memory” ซึ่งหมายถึงหน่วยความจำที่ใช้อ่านได้อย่างเดียว เป็น memory chip ที่ทำหน้าที่เก็บแอปปลิเคชั่นและข้อมูลเป็นการถาวร และไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงระบบ ซึ่งแอปปลิเคชั่นและข้อมูลจะถูกเขียนหรือ burned เข้าไปในชิป โดยบริษัทผู้ผลิต ผู้ใช้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ในชิปได้ ถึงได้เรียกว่าอ่านอย่างเดียว (read-only)
RAM: RAM เป็นคำย่อของ “Random Access Memory” เป็น memory chips ที่จำเป็นของคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป รวมทั้ง PDA ด้วย ส่วนของ RAM นี้ จะใช้สำหรับประมวลผลและเก็บไฟล์ข้อมูลชั่วคราว RAM มีความแตกต่างจาก ROM ในเรื่องของการเก็บรักษาข้อมูล RAM จำเป็นจะต้องมีกระแสไฟมาเลี้ยงเพื่อที่จะรักษาข้อมูลที่เก็บไว้ใน RAM Pocket PC รุ่นแรกๆ ก่อนที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile 5 จะใช้ RAM เก็บทั้งข้อมูลและโปรแกรม ดังนั้นผู้ใช้ PDA จำเป็นจะต้องคอยดูแลส่วนของแบตเตอรีไม่ให้กระแสไฟฟ้าหมด มิเช่นนั้น โปรแกรมและข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้ใน RAM ก็จะหายไปทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

1. หายุคของภาษาคอมพิวเตอร์มี 5 ยุค อะไรบ้าง

-ยุคที่ 1 (First Generation Language : 1GL) เป็นภาษาระดับต่ำ (Low - Level Language) ประกอบด้วยเลขฐานสอง ได้แก่ 0 และ 1 หรือเรียกว่า "ภาษาเครื่อง (Machine Language)"

-ยุคที่ 2 (Second Generation Language : 2GL) ได้มีผู้พัฒนาให้มีการใช้สัญลักษณ์แทนตัวเลขฐานสอง เรียกว่า "ภาษาสัญลักษณ์ (Symbol Language)" คือ ภาษาอังกฤษ จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จำได้ง่าย เรียกว่า "นิวมอนิกโค้ด (Nemonic Code)" ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างภาษาสัญลักษณ์ ได้แก่ ภาษา Assembly และเนื่องจากเป็นภาษาสัญลักษณ์ จึงต้องใช้ตัวแปลภาษา เพื่อทำให้เป็นภาษาเครื่องก่อน ด้วยตัวแปลภาษาที่เรียกว่า "Assembler"

-ยุคที่ 3 (Third Generation Language : 3GL) ภาษาสัญลักษณ์ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถแทนตัวเลขฐานสองได้เป็นคำ ทำให้กลายเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจและเขียนได้ง่ายขึ้น คำสั่งสั้นและกระชับมากขึ้น เช่น ภาษา BASIC, COBOL, Pascal

-ยุคที่ 4 (Fourth Generation Language : 4GL) ได้มีการพัฒนารูปแบบการเขียนโปรแกรมจากยุคที่ 3 ที่จัดว่าเป็นการเขียนแบบ Procedural ให้กลายเป็นการเขียนแบบ Non - Procedural ที่สามารถกระโดดไปทำคำสั่งใดก่อนก็ได้ตามที่โปรแกรมเขียนไว้ นอกจากนี้ จุดเด่นของภาษาในยุคนี้เริ่มจากการเขียนคำสั่งให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลได้ และพัฒนาต่อมากลายเป็นการเขียนคำสั่งให้ได้โปรแกรมที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกมากขึ้น และพัฒนาจนมาถึงการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object - Oriented Programming) เช่น ภาษา C++, Visual C++, Delphi, Visual Basic เป็นต้น ปัจจุบันมีภาษาที่ใช้หลักการของโปรแกรมเชิงวัตถุที่นิยมใช้ เช่น ภาษา Java

-ยุคที่ 5 (Fifth Generation Language : 5GL) เป็นภาษาที่ใช้สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ภาษาในยุคที่ 5 เรียกว่า "ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)" คือ ไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นเพื่อทำตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง